วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑ นาฬิกา ๔๕ นาที พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา
ลักษณะการแต่ง
บันเทิงคดี
โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจดหมายทั้งหมด
18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
๑).หัวจดหมาย
ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓กันยายน พ.ศ. ๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ ๓๐ มีนาคม
พ.ศ.๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี
พ.ศ.ไว้
๒).คำขึ้นต้นจดหมาย
ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
๓).คำลงท้าย
จะใช้คำว่า “จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...”
แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง”
(ฉบับที่ ๑๐) มีเพียง ๙ ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
๔).การลงชื่อ
ตั้งแต่ฉบับที่ ๑๔ เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่ ๑-๑๓ ใช้ชื่อ “ประพันธ์
๕).ความสั้นยาวของจดหมาย
มีเพียงฉบับที่ ๑๔ เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยัง เพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
จุดมุ่งหมาย
๒.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
๓.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
๕.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
๖.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
๗.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร
๘.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของวัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
ข้อคิดที่ได้รับ
๑. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา
แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง
และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น
๒. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย
ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ
๓. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก
ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย
๔. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย
๕. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม
๖.รักษาวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบมา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)